มายด์แมป (Mind Map) กับ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

     มายด์แมป (Mind Map) เป็นเครื่องมือสะท้อนความคิด และเหมาะกับการนำมาใช้ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะนำมาใช้ในการเรียน รูปแบบ Active Learning จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ ที่คุ้นเคยแต่การรอฟังคำสั่ง รอรับข้อมูลทางเดียว (Passive Learning) ปรับพฤติกรรมมาเรียนรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องใช้การ Active ตลอดการเรียน

การใช้มายด์แมปเข้ามาช่วยในการจดบันทึกการเรียนรู้เชิงรุก
เริ่มได้ตั้งแต่…

  • ก่อนการเรียนรู้ กระตุ้นด้วยการตั้งคำถาม
    เกี่ยวกับประเด็นของการเรียนรู้ รู้จัก เคยเห็น

    จะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ กำลังคิด

    หรือคาดเดาก็ได้ โดยยังไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือผิด

    เพื่อที่จะได้หาคำตอบในการเรียนนั้นรู้นั้น ๆ

  • ระหว่างการเรียนรู้ พยายามตั้งคำถามในหัว
    การเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เกิดการกระตุ้น

    จะทำให้สมองของเด็ก ๆ เกิดคำถาม เกิดกระบวนการคิด

    เชื่อมโยง พยายามเรียบเรียงข้อมูล วิเคราะห์

    หรือแก้ปัญหา ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่สมองจดจำได้

    มากกว่าการเรียนรูปแบบรับข้อมูลอย่างเดียว

  • การสะท้อนความคิด หลังการเรียนรู้
    สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือประสบการณ์ของเด็ก ๆ

    ว่าได้อะไร เรียนรู้อะไร รู้สึกอะไร มีมุมมองการคิดอย่างไร

  • การถ่ายทอดองค์ความรู้
    นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ ที่เป็นองค์ความรู้ของตนเอง

    มาเรียบเรียงความคิด เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม

    สามารถอธิบายได้ โดยจะใช้ถ่ายทอดออกมาเป็นการเขียน

    การพูด การวาดรูป หรือการแสดงบทบาทสมมติ ก็สามารถทำได้

     การใช้มายด์แมปบันทึก ระหว่างการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านประสบการณ์ กระบวนการคิด การทำ การเขียน
จะสะท้อนการคิดของเด็กให้เห็นมุมมองตั้งแต่เริ่มแรก ไปจนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
จึงทำให้การเรียนในรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง